Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พบอุโมงค์ลับของฮิตเลอร์


😎แปดสิบกิโลเมตรไปทางทิศใต้ของ รอตสวาฟ ภายใต้เทือกเขาที่เก่าแก่ที่สุดของโปแลนด์คือภูเขา Owl ตั้งอยู่ในอาคารใต้ดินขนาดใหญ่และระบบอุโมงค์ที่สร้างโดยพวกนาซี ไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของอุโมงค์เหล่านี้ และไม่ทราบขนาดจริง

🏞การก่อสร้างอุโมงค์เริ่มขึ้นในปี 1943 เพื่อตอบสนองต่อการที่พันธมิตรทิ้งระเบิดเหนือนาซีเยอรมนี แหล่งข่าวเยอรมันกล่าวว่ามันเป็นที่หลบภัยใต้ดินขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมกว่า 35 ตารางกิโลเมตร กับหนึ่งในสำนักงานใหญ่ของFührerที่เป็นศูนย์กลางของ Adolf Hitler นอกจากนี้ยังมีการวางแผนที่จะใช้เป็นที่หลบภัยสำหรับสมาชิกชั้นนำของกองทัพเช่นเดียวกับสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่ง
🎆ภูเขา Owl ถูกเลือกเพราะหินแข็ง ที่จะช่วยป้องกันการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ซับซ้อนเป็นพิเศษ แต่มันก็ทำให้ความคืบหน้าของการขุดอุโมงค์ช้า แรงงานบังคับนับพันจากค่ายข้ามสหภาพโซเวียตและโปแลนด์ช่วยสร้างอุโมงค์ พวกเขาทำงานในสภาพที่น่ากลัวหมดแรงและหิวโหย อัตราการตายสูงมาก
🤷‍♀️เนื่องจากโรคการขาดสารอาหาร อาการอ่อนเพลีย งานใต้ดินที่อันตราย และการรักษานักโทษโดยทหารเยอรมัน แรงงานทาส 5,000 คนเสียชีวิตในโครงการนี้
จนถึงทุกวันนี้มีที่พักพิงและอุโมงค์เจ็ดระบบที่ประกอบกันเป็นโครงการ Riese ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่ามีอยู่ในภูเขา Owl สิ่งก่อสร้างทั้งหมดมีการออกแบบที่คล้ายกัน สอดคล้องกับรูปแบบของสำนักงานใหญ่ใต้ดินFührer
สิ่งก่อสร้างสามแห่งนี้ดำเนินการโดยเจ้าของส่วนตัวและนักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ ขอบเขตที่แท้จริงของโครงการก่อสร้างที่ไม่สมจริงนี้จะกลายเป็นชัดเจนเมื่อได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งอันที่จริง“ Riese” นั้นหมายถึง“ ยักษ์”
รถในรูปนี้จะทำให้คุณคิดได้ว่าอุโมงค์ขนาดใหญ่แค่ไหน

นักโทษคดีฆาตกรรมเรียนไม่จบมัธยมปลาย แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ขั้นสูงได้ในเรือนจำ


ในช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำประสบเคราะห์กรรมและความยากลำบาก มีผู้คนจำนวนไม่มากนักที่สามารถค้นพบสิ่งดีงามซึ่งยังหลงเหลืออยู่ในตนเอง และนำมาใช้พลิกฟื้นแก้ไขอดีตที่ผ่านมาได้

ตัวอย่างเช่นนายคริสโตเฟอร์ เฮเวนส์ ชาวอเมริกัน ซึ่งปัจจุบันต้องโทษจำคุก 25 ปีที่เรือนจำรัฐวอชิงตันในคดีฆาตกรรม แต่เขาได้ใช้ช่วงเวลาที่หมดอิสรภาพนี้ สร้างเส้นทางอาชีพนักคณิตศาสตร์ระดับโลกขึ้นมาได้สำเร็จ

เรื่องราวที่เหลือเชื่อนี้ได้รับการเปิดเผยทางเว็บไซต์ The Conversation หลังจากที่เฮเวนส์ตีพิมพ์ผลงานการค้นพบใหม่ว่าด้วยทฤษฎีจำนวน ลงในวารสารวิชาการด้านคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก Research in Number Theory ไปเมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

เฮเวนส์บอกว่าศาลพิพากษาให้เขามีความผิดฐานก่อเหตุฆาตกรรมเมื่อปี 2011 และปัจจุบันเขาได้รับโทษจำคุกมาเกือบสิบปีแล้ว แต่เมื่อย้อนไปในช่วงที่เพิ่งเข้าเรือนจำมาได้ไม่กี่เดือน เขาเคยถูกนำตัวไปขังเดี่ยวหลายครั้งเพราะพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งการขังเดี่ยวนี้เองทำให้เขาหันมาทบทวนวิชาคณิตศาสตร์และศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง จนค้นพบว่าเขามีใจรักในการคำนวณอย่างแท้จริง

ในช่วงต้นปี 2013 เฮเวนส์ซึ่งเคยติดยาเสพติดและเรียนไม่จบชั้นมัธยมปลาย ได้เขียนจดหมายไปหาบรรณาธิการของวารสารวิชาการด้านคณิตศาสตร์ฉบับหนึ่ง เพื่อขอรายละเอียดการสมัครเป็นสมาชิก และขอความช่วยเหลือให้ได้ติดต่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่จะสอนคณิตศาสตร์ชั้นสูงให้เขาได้ เฮเวนส์เขียนในจดหมายฉบับนั้นว่า

"ผมตัดสินใจจะใช้เวลาที่ต้องโทษจำคุกพัฒนาตนเอง และตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องแคลคูลัสกับทฤษฎีจำนวนอยู่ การที่ผมเรียนด้วยตนเองทำให้ต้องติดขัดบ่อย ๆ แก้ปัญหาหลายข้อไม่ได้อยู่นาน มีใครที่พอจะเขียนจดหมายโต้ตอบกับผมในเรื่องพวกนี้ได้บ้างไหม ? ผมจะส่งซองจดหมายติดแสตมป์ไปให้ด้วยเลย ต่อไปผมจะได้ไม่ต้องเสียเงินหลายร้อยดอลลาร์ สุ่มซื้อหนังสือที่อาจช่วยหรือไม่ช่วยให้ผมเข้าใจมากขึ้นเลยก็ได้"

บรรณาธิการผู้นั้นได้แนะนำให้เฮเวนส์รู้จักกับพ่อตาของเขาเอง ซึ่งก็คือศาสตราจารย์อุมแบร์โต แชร์รูติ นักทฤษฎีจำนวนจากมหาวิทยาลัยตูรินของอิตาลี ซึ่งยินดีจะติดต่อกับเฮเวนส์ด้วยการเขียนจดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์เท่านั้น เพราะในเรือนจำของเขาไม่มีอินเทอร์เน็ตให้ใช้

ในตอนแรก ศ. แชร์รูติคิดว่าเฮเวนส์อาจเป็นเพียงพวกสติเฟื่องร้อนวิชา ที่ชอบเสนอทฤษฎีหรือวิธีแก้ปัญหาขั้นสูงแบบผิด ๆ แต่เมื่อเขาลองทดสอบให้เฮเวนส์แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนอย่างมาก เขาต้องตกตะลึงเมื่อพบว่าเฮเวนส์ทำได้ถูกต้อง

หลังจากนั้นศ. แชร์รูติจึงแนะนำให้เฮเวนส์รู้จักกับงานวิจัยเรื่องปัญหาเศษส่วนต่อเนื่อง (continued fraction) ที่เขากำลังทำอยู่ ซึ่งในที่สุดเฮเวนส์ได้ช่วยให้ค้นพบแบบแผนบางอย่างในการประมาณค่าจำนวนซึ่งอยู่ในรูปเศษส่วนต่อเนื่องนี้ได้ โดยไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วยในการคำนวณแก้ปัญหาดังกล่าวเลย

เศษส่วนต่อเนื่องถูกค้นพบโดยยูคลิด (Euclid) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล เป็นวิธีเขียนแสดงจำนวนอีกรูปแบบหนึ่งโดยใช้ลำดับ (sequence) ของจำนวนเต็ม เช่นค่าพาย (π) ที่เขียนในรูปทศนิยม จะเท่ากับ 3.14159… แต่จำนวนที่เป็นทศนิยมไม่รู้จบนี้ สามารถเขียนให้อยู่ในรูปที่เรียบง่ายชัดเจนกว่าได้ด้วยเศษส่วนต่อเนื่อง


ค่าพาย (π) ที่เขียนในรูปของเศษส่วนต่อเนื่อง

การค้นพบใหม่ว่าด้วยแบบแผนในเศษส่วนต่อเนื่องของเฮเวนส์และทีมวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ความรู้ด้านทฤษฎีจำนวนก้าวหน้าไปมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันทฤษฎีนี้ถูกนำไปใช้งานด้านวิทยาการเข้ารหัสลับ (cryptography) ในแวดวงการเงินการธนาคารและการทหารอย่างแพร่หลาย
ปัจจุบันเฮเวนส์กำลังเรียนทางไปรษณีย์กับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ในหลักสูตรขั้นประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตร์ (Associate of Science) และมีแผนจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาหลังพ้นโทษ เขาหวังว่าจะเป็นนักคณิตศาสตร์อาชีพ และยกระดับโครงการสอนวิชาเลขในเรือนจำที่เขาทำอยู่ให้เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ซึ่งส่งเสริมนักโทษผู้มีความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นพิเศษในอนาคต

รายการบล็อกของฉัน