Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

เรื่องลึกลับ บทรักพิสดารของพระนางซูสีไทเฮาฉือสี่ไท่โฮ่วแห่งราชวงศ์ชิง


       แบ็กเฮาวส์วัย 32 ร่วมเตียงกับไทเฮาชันษา 70 ถึงสองครั้งในคืนเดียวDécadence Mandchoue บันทึกความทรงจำที่เผยบทรักพิสดารของพระนางซูสีไทเฮา
(ฉือสี่ไท่โฮ่ว)แห่งราชวงศ์ชิง 

โดยเซอร์เอ็ดมุนด์ ทรีลอว์นี แบ็กเฮาวส์ (Sir Edmund Trelawny Backhouse) ได้รับการกล่าวขวัญอีกครั้ง เมื่อบริษัทในฮ่องกงได้นำ Décadence Mandchoue ฉบับภาษาจีนและฉบับภาษาอังกฤษออกวางแผงในดินแดนเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา สำหรับฉบับพากษ์จีนมีชื่อว่า ไทเฮากับข้าพเจ้า 《太后與我》 จัดพิมพ์โดย New Century Press แห่งฮ่องกง
      
       แบ็กเฮาวส์ได้เขียน Décadence Mandchoue เมื่อปี 1943 โดยผู้เขียนตั้งใจให้เป็นบันทึกความทรงจำความสัมพันธ์สวาทกับซูสีไทเฮา เนื้อเรื่องมีบทบรรยายฉากรักพิสดารบนเตียงระหว่างผู้เขียนเซอร์แบ็กเฮาวส์ กับพระนางซูสีไทเฮา และที่น่าตกตะลึงไปกว่านั้นก็คือ เขาได้พรรณนาความรักระหว่างชายภายในราชสำนักชิง ความสัมพันธ์รักร่วมเพศระหว่างเขากับบรรดาเชื้อพระวงศ์ รวมทั้งขุนนางชั้นสูง เซอร์แบ็กเฮาวส์ประกาศตัวว่าเป็นพวกรักร่วมเพศ และมีความสัมพันธ์กับหญิงคนเดียวคือ พระนางซูสีไทเฮา
      
       นอกจากนี้ นายแบ็กเฮาวส์ ยังได้ฉีกตำราประวัติศาสตร์ทั่วไป โดยเปิดเผยว่าซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์เพราะถูกสังหารด้วยกระสุนจากกระบอกปืนของแม่ทัพหยวน ซื่อไข่
        

       แบ็กเฮาวส์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1873 เป็นบุตรชายคนโตของตระกูลเควกเกอร์ (Quaker) อันเก่าแก่และมีชื่อเสียง หลังจากที่เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในปี ค.ศ. 1898 ก็ได้เดินทางมายังกรุงปักกิ่ง เขาเชี่ยวชาญทั้งภาษาจีน ภาษาแมนจู และภาษามองโกล ได้ทำงานแปลและเป็นล่ามให้กับกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษและหนังสือพิมพ์ เดอะ ไทมส์แห่งลอนดอน 
แบ็กเฮาวส์เป็นผู้เชี่ยวชาญ
ลัทธิบุรพนิยม(Orientalism) หนังสือเกี่ยวกับเรื่องจีนของเขาติดอันดับหนังสือขายดี ได้แก่ China under the Empress Dowager (1910) โดยหนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนร่วมกับนายแบลนด์ (J.O.P. Bland) ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษร่วมค่ายหนังสือพิมพ์เดียวกับเขา หลังจากนั้นทั้งสองยังได้เขียนงานร่วมกัน คือ Annals and Memoirs of the Court of Peking (1914)
      
       แบ็กเฮาวส์ได้เขียนบันทึกความทรงจำ ชื่อว่า Décadence Mandchoue เผยถึงสัมพันธ์สวาทในสำนักชิง โดยนาย Reinhard Hoeppli นายแพทย์ชาวสวิสที่สนิทสนมกับเขารบเร้าให้เขาเขียนบันทึกความจำอันน่าตื่นตะลึงในสำนักชิงที่ท่านเซอร์ฯได้ประสบมาไว้ หลายเดือนต่อมาแบ็กเฮาวส์ก็ถึงแก่อนิจกรรม(เดือนมกราคม ค.ศ. 1944) ด้วยโรคร้าย ที่กรุงปักกิ่ง ในวัย 71 ปี

   ในบทนำของบันทึกฯ แบ็กเฮาวส์ได้ใช้วลี "ความรักที่ทำให้ดวงเนตรของผู้คนมืดบอดนี้ดั่งมายาเพ้อฝันเหนือจินตนาการ” พรรณนาประสบการณ์พิศวาสในราชสำนักชิงที่เขาได้ประสบมา เล่าว่าเมื่อวัย 32 เขาเริ่มเข้าวังที่ประทับของพระนางซูสีฯอย่างลับๆ ด้วยสถานะ “คู่นอน" อันทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองได้ผันแปรจาก “นักการทูตหนุ่มกับไทเฮา" มาเป็น “คู่รักเริงสวาท" ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เขากระอักกระอ่วนใจไม่น้อย โดยในกิจกามนี้ก็มีมหาขันทีหลี่ เหลียนอิง เป็นผู้คอยจัดเตรียมยาโป๊วปลุกอารมณ์เพศให้แก่เขา ทั้งช่วยเขาอาบน้ำ พรมน้ำหอม ทำให้เขาเกิดอารมณ์เสน่หาสนองความปรารถนาของพระนางซูสีฯวัย 70 ชันษา
      

       ท่านเซอร์ฯบรรยายว่า “ข้าพเจ้าได้ถอดเสื้อผ้าออก ยืนเปลือยกายล่อนจ้อนอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งได้ยินเสียงอันคุ้นหู “มานี่เร็วๆ เจ้าจะรอช้าอยู่ใย เรารุ่มร้อนจะแย่แล้ว!” ตอนนั้นข้าพเจ้าไม่รู้สึกอาย แต่ไฟพิศวาสกลับพวยพุ่งขึ้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ไปได้ หนุ่มวัย 32 เบื้องหน้าพระนางหม้ายชันษา 70 ข้าพเจ้าคุกเข่าลงหน้าบรรจถรณ์ (เตียง) หงส์องค์ใหม่ ซึ่งมีขนาดอลังการพอๆ กับบรรจถรณ์มังกร “กระหม่อมอยู่นี่แล้วพะยะค่ะ กระหม่อมพร้อมทำตามพระประสงค์ของไทเฮาด้วยสุดชีวิตจิตใจของกระหม่อม"
      
       “ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณท่านขันทีหลี่ เหลียนอิงและยาปลุกเร้าอารมณ์สารพัดประโยชน์ของเขาด้วยใจจริง ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนตัวเองเหาะเหินเดินอากาศได้ คล้ายกับอาชาหนุ่มคะนองผยองศึกเลยทีเดียว หลังจากคลื่นกระทบฝั่งไปคำรบหนึ่งแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างเสร็จสมอารมณ์หมาย กระทั่งเกือบยามสาม ท่านหลี่จึงเข้ามาถวายชาแด่ไทเฮา และให้ยาปลุกอารมณ์กับข้าพเจ้าอีกสองเม็ด"

       ไทเฮารับสั่งว่า "เราอยู่ด้วยกันอย่างสำราญใจมาก" ขันทีหลี่ทูลตอบว่า "หม่อมฉันมองออกพะยะค่ะไทเฮา เห็นท่านชายผู้นี้ทำให้พระองค์พอพระทัยได้ หม่อมฉันก็มีความสุขมากเช่นกันพะยะค่ะ ทรงรอให้ยานี่ออกฤทธิ์ก่อน รับรองเขาได้กลับมาแข็งแรงปึ๋งปั๋ง เปี่ยมพลังวังชา พร้อมถวายงานให้ทรงสำราญอีกพะย่ะคะ"

ชินอ๋องเปิดงานสังสรรค์ชาย-ชายในห้องอาบน้ำ   
       เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง (กงชินหวัง) กับบรรดาผู้รับใช้หารือกันในห้องอาบน้ำอันเงียบเชียบแห่งนั้น พลันมีสุรเสียงบัญชาดังขึ้น "คุกเข่าลง" สุรเสียงดังก้องทำให้ไม่มีผู้ใดกล้าขัด แบ็กเฮาวส์เมื่อได้ยินบัญชาก็คุกเข่าลง กงชินหวังกับชายผู้อื่นก็เช่นเดียวกัน ร่างที่กำลังยาตราเข้ามาในห้องนั้นคือพระนางซูสีไทเฮานั่นเอง พระนางทรงแต่งพระเกศาลายคลื่นลม ทรงอาภรณ์สีเหลือง ทรงสนับเพลาและรองพระบาทแบบบุรุษ หลี่ เหลียนอิงและชุย เต๋อหลงลองพระหัตถ์ของพระองค์อยู่ ครั้นพระนางย่ำพระบาทจนทรงพระองค์อย่างมั่นคงแล้ว ก็ตรัสด้วยความกริ้วว่า “ผู้ใดกล้าขัดคำสั่งเรา” หลังจากพระองค์ทรงได้ “เปิดหูเปิดตา”เสร็จ ก็เสด็จไปยังห้องอาบน้ำอื่นๆ อย่างพอพระทัย

รายการบล็อกของฉัน