Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของคำว่าจิตอาสาและจิตสาธารณะ

จิตอาสา คืออะไร...คำนี้จะคุ้นหูพวกเรามากขึ้น
"จิตอาสา"คำนี้คนจำนวนหนึ่งคงได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้วแต่ยังมีอีกมากมายหลายล้านคนไม่เคยได้ยินหรือรู้ความหมายของ คำเล็กๆ คำนี้เลย
         
จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกายแรงสมอง
ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา
เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม...อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัว เป็นตน ของตนเองลงได้บ้าง
           
"อาสาสมัคร"เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีจิตอาสา
ซึ่งมีความหมายอย่างมากกับสังคมส่วนรวมเป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือ สังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น
         
การเป็น "อาสาสมัคร"   ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทำทั้งสิ้น คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จำกัดที่ วัย การศึกษา เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจำกัด ใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็น "จิตอาสา" ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคม เท่านั้น จิตอาสา คำนี้จะคุ้นหูพวกเรามากขึ้น ....   หากแต่เพียงมองรอบตัวท่าน ทำสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม...
โดย : ประวิตร พิสุทธิโสภณ
“เนื้อ แท้ของความเป็นอาสาสมัครนั้นอยู่ที่จิตใจ คือมี ‘จิตอาสา’ ที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น หรือนึกถึงส่วนรวม จะเป็นครู พ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ ก็สามารถเป็นอาสาสมัครได้ตลอดเวลาหากมีจิตใจที่คำนึงถึงส่วนรวมอยู่เสมอ เราจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ‘อาสาสมัคร ’ นั้นไม่ใช่เป็นอาชีพ หากคือสำนึกที่สมควรมีอยู่คู่กับความเป็นมนุษย์ของเราจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ”
โดย :พระไพศาล วิสาโล

“มีจิตสาธารณะ” (public consciousness)
จิตสาธารณะ คือ จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะหลอดไฟฟ้าที่ให้ความสว่างตามถนนหนทาง แม้แต่การประหยัดน้ำ ประปา หรือไฟฟ้า

ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษาให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากหรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือช่วยกันแก้ปัญหาแต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม
จิตสำนึกทางสังคม 
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันหรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้ความหมายว่าการรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มี ความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิดเน้นความเรียบร้อยประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

สรุป จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ
จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง

ส่วนคำว่า สาธารณะ (Public) เป็น การแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม…

ผลของการคิดในแง่ลบ


นักวิจัย ชี้ คิดแง่ลบ-อารมณ์เสีย ก็ก่อให้เกิดประโยชน
นักวิจัยออสเตรเลียชี้ "คิดแง่ลบ-อารมณ์เสีย" ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ (มติชนออนไลน์)

       ทีมนักวิจัยด้านจิตวิทยาของออสเตรเลียชี้ "คนคิดแง่ลบ" ก็มีดี ทั้งมีความคิดเชิงวิพากษ์ มีความละเอียดรอบคอบ ไหวตัวทันต่อข่าวลือ ความทรงจำเยี่ยม และเป็นนักโน้มน้าวใจชั้นยอด

       ทีมนักวิจัยในประเทศออสเตรเลียออกมาเปิดเผยว่า การมีอารมณ์เสียหรือชอบคิดอะไรในแง่ลบ อาจไม่ได้นำไปสู่ความเสียหายเพียงเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในบางแง่มุมอีกด้วย

       "โจเซฟ ฟอร์กาส" ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยนิว เซาธ์ เวลส์ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยดังกล่าว ระบุว่า คน ที่มีอารมณ์เสียหรือชอบคิดอะไรในแง่ลบ จะมีความคิดในเชิงวิพากษ์และให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างมากกว่าคน อารมณ์ดีที่ชอบมองอะไรในแง่บวก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเชื่อถือทุกสิ่งตามที่ตนเองถูกบอกและสั่งสอนมา

       "ขณะที่การมีอารมณ์ดี มองอะไรในแง่บวก จะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์, การปรับตัวได้ง่าย, การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และการมีความมั่นใจ การมีอารมณ์เสีย คิดอะไรในแง่ลบ ก็มักนำไปสู่ความระมัดระวัง, การครุ่นคิดอย่างละเอียดรอบคอบ และการให้ความสนใจอย่างยิ่งยวดต่อโลกรอบข้าง" ศาสตราจารย์ฟอร์กาส ระบุในงานวิจัย

       ทีมนักวิจัยชุดนี้ยังพบอีกว่า คนที่ชอบคิดแง่ลบหรือมีอารมณ์เสียนั้นจะไหวตัวทันต่อมายาคติและข่าวลือจำนวน มากมายที่แพร่หลายในสังคมได้ดีกว่าคนอารมณ์ดีที่ชอบคิดอะไรในแง่บวก

       นอกจากนั้น คนอารมณ์เสียชอบคิดอะไรในแง่ลบยังมีแนวโน้มที่จะมีอคติทางด้านเชื้อชาติและ ศาสนาน้อยกว่าคนอารมณ์ดีมองโลกในแง่บวก และพวกเขายังมีความสามารถในการรื้อฟื้นความทรงจำในอดีตที่ตนเองเข้าไปมีส่วน ร่วมอยู่ด้วยได้อย่างแม่นยำ ขณะเดียวกัน คนเหล่านี้ก็มักจะเขียนบทความเชิงโต้แย้งถกเถียงได้ดี รวมทั้งเป็นนักสื่อสารผู้มีความสามารถในการโน้มน้าวใจผู้อื่นอีกด้วย

ทัศนะความคิดหนึ่ง

จิตใจที่เต็มไปด้วยความคิดด้านลบจะทำให้คุณรู้สึก เป็นทุกข์ ไม่เพียงพอ และจะนำพาคุณไปสู่ความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าคุณจะพยายามทำให้สำเร็จมากแค่ไหนก็ตาม

ถ้าคุณมีแนวความคิดที่จะไปในด้านลบ คุณก็เท่ากับกำลังเป็นหนี้ และจะจบลงที่ความล่มสลายหรือของความสัมพันธ์ในด้านลบ

ถ้าคุณต้องการความสำเร็จ ต้องการมีความสุข และมีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง คุณจะต้องกำจัดความคิดด้านลบ และความเชื่อในด้านลบใดๆ ที่เหนี่ยวรั้งคุณอยู่ออกไปเสียก่อน

แล้วคุณจะต้องแทนที่ความคิดด้านลบนั้นด้วยความคิดบวกที่จะทำให้คุณพบกับความสำเร็จและมีความสุขกับชีวิต

ในขณะที่สิ่งนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องท้าทาย แต่มันก็ง่ายกว่าที่คุณคิดมากนัก และต่อไปนี้คือคำแนะนำเพื่อคุณจะได้กำจัดความคิดในแง่ลบออกไป และเริ่มสร้างชีวิตที่คุณต้องการด้วยขั้นตอนง่ายๆ เพียงไม่กี่อย่าง

ความคิดในด้านลบเริ่มขึ้นอย่างไร

เราทุกคนมีความคิดในด้านลบอยู่ ถึงจะพยายามมากแค่ไหนคุณก็ไม่สามารถกำจัดความคิดในด้านลบของคุณออกไปได้ทั้งหมด

แต่คุณสามารถกำจัดความคิดลบที่มีอยู่เรื้อรัง และเปลี่ยนความเชื่อในแง่ลบที่คอยกีดกันคุณจากความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายของคุณได้

ความคิดเหล่านี้คืออะไร และมันมาจากไหน?
ความคิดเหล่านี้มันมาจากเพื่อนของคุณ ครอบครัวของคุณ เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ครู หรือแม้แต่คนแปลกหน้า และมันมาจากตัวคุณเองด้วย คุณมักจะเป็นคนสร้างความคิดด้านลบขึ้นมามากที่สุดในจำนวนความคิดด้านลบที่ คุณมี และมันเป็นเพียงเพราะคุณไม่ได้ฝึกฝนจิตใจของคุณให้เป็นบวก และคุณไม่ได้สร้างความเชื่อในด้านบวกที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้ขึ้นมา

ความจริงคือคุณถูกกระหน่ำด้วยความคิดในด้านลบและข่าว ในแง่ลบมากมายหลายอย่างในแต่ละวัน และเมื่อคุณซึมซับข่าวสารในแง่ลบเหล่านี้เข้ามา คุณก็จะสร้างรูปแบบความคิดในด้านลบขึ้นมา ซึ่งมันจะนำไปสู่ความเชื่อในด้านลบและจำกัด

ความคิดในด้านลบเหมือนกับวัชพืช ถ้าคุณไม่คอยดูแลเอาใจใส่และกำจัดมันเสียแต่เนิ่นๆ คุณจะถูกมันปกคลุมครอบงำจิตใจของคุณไว้ทั้งหมดและทำลายความคิดบวกและความ เชื่อในแง่บวกของคุณจนหมดสิ้น

นี่คืออุปมาอุปมัยที่ทำให้มองเห็นได้อย่างถูกจุด
เราจะกำจัดวัชพืชที่เป็นความคิดในด้านลบนี้ได้อย่างไร?

คุณจะกำจัดมันได้ด้วยการแทนที่ความคิดในด้านลบนี้ด้วยความคิดบวก และความรู้สึกในด้านดี และเริ่มเผยแพร่ข่าวสารในแง่ที่ดีไปสู่คนอื่นๆ

เมื่อคุณมีความคิดในด้านลบ คุณจะพูดว่าคุณไม่สามารถทำบางอย่างได้ ให้คิดว่าทำไมอย่างอื่นคุณยังสามารถทำได้
เมื่อคุณคิดถึงสิ่งที่อาจจะผิดพลาด ให้เปลี่ยนความคิดในด้านลบเหล่านั้น และคิดถึงอะไรที่มันถูกต้อง

หากคุณไม่สามารถกำจัดวัชพืชนี้ได้จนหมด คุณต้องคอยปรับแต่งและควบคุมมันไว้ อย่าให้มันรกจนปกคลุมความคิดบวกของคุณได้ และเมื่อความคิดบวกเหล่านั้นงอกงาม มันจะไม่เหลือเนื้อที่ให้กับความคิดด้านลบอีกต่อไป

เรียบเรียงข้อมูลโดย manman

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มาคิดในเชิงบวกกันเถอะ(Think positive)


ผลของการคิดเชิงบวก
จะเห็นว่าการที่มนุษย์มีความคิดเชิงบวกแล้ว ผลดีก็คือ
รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่นมนุษย์จะสามารถ มองโลกและชีวิตได้อย่างเข้าใจมองอนาคตอย่างมีความหวัง และมีความสุขมากขึ้นเกิดแรงบันดาลใจ

วิธีการฝึกคิดบวก
มนุษย์ เราสามารถสร้างนิสัยคิดบวกได้พอๆ กับนิสัยคิดลบ แต่นิสัยคิดลบเกิดได้ง่ายกว่า เพราะต่างทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว ฉะนั้น ลองทำตามวิธีต่อไปนี้ดูนะคะ เพื่อสร้างนิสัยคิดในด้านดี และขจัดความคิดด้านร้ายให้หมดไป

วิธีการฝึกคิดบวกนั้นไม่ยาก ลองดู 12 ขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้ค่ะ
1.ให้มองไปข้างหน้า อย่ามองย้อนหลัง ทุกคนเคยทำผิดมาแล้วทั้งนั้น แต่ต้องไม่จมอยู่กับอดีตที่ผิดพลาด เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป จงวางเป้าหมายเล็กๆที่เป็นไปได้ และพยายามทำให้สำเร็จ

2.รู้จักให้อภัยตัวเองและผู้อื่น สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นผลพวงมาจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น ในบางครั้งบางคราว เราต่างตัดสินใจผิดพลาด แต่เมื่อรู้สำนึกแล้ว ก็ต้องปล่อยให้มันผ่านไป เรียกว่าเป็นการให้อภัย และต้องให้อภัยตัวเองเมื่อทำผิดพลาด เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป รวมทั้งใช้ความผิดพลาดจากอดีตเป็นบทเรียน เพื่อก้าวย่างที่ดีกว่าในอนาคต

3.ถ้าแก้วมีน้ำแค่ครึ่งเดียว จงเติมให้เต็มแก้ว การมองว่า มีน้ำเหลืออยู่ครึ่งแก้ว หรือน้ำหายไปครึ่งแก้วนั้น ถูกทั้ง 2 อย่าง อยู่ที่ว่าผู้มองเป็นคนมองโลกในแง่ดีหรือร้าย และไม่ผิดอะไรที่คุณจะเติมน้ำให้เต็มแก้ว

4.มองหาบุคคลต้นแบบ ทุกคนควรมีบุคคลต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจ คนคนนั้นอาจเป็นผู้ที่เอาชนะอุปสรรคใหญ่ๆได้สำเร็จ และประสบความสำเร็จอย่างงดงามในที่สุด หรือเป็นผู้ที่ทำงานหนักและสัมฤทธิ์ผลจงเอาคนนั้นเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต

5.พาตัวเองเข้าไปอยู่ในแวดวงของคนที่ประสบความสำเร็จและมอง โลกในแง่ดีมันเป็นเรื่องมหัศจรรยู์ที่พลังอำนาจของคนอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อพลังในตัวเราได้ คนที่คิดในด้านบวกจะช่วยกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้เรา เชื่อมั่นในตัวเองว่า เราสามารถทำสิ่งที่มุ่งมั่นไว้ให้สำเร็จได้ จำไว้ว่า..จงอยู่ให้ห่างคนที่คิดแต่แง่ร้าย ซึ่งจะขัดขวางการเดินหน้าของคุณ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล”

6.เห็นคุณค่าสิ่งดีๆในชีวิต เมื่อเราพอใจกับทุกเรื่องดีๆที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม มันจะช่วยให้เราขจัดความคิดในด้านลบออกไป การโฟกัสแต่สิ่งดีๆเหล่านี้ จะทำให้อุปสรรคที่เราเผชิญอยู่ กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราจัดการได้ง่ายขึ้น

7.รู้จักบริหารเวลาอย่างชาญฉลาด อย่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณตั้งเป้าไว้ในชีวิต ข้อสำคัญคือ มุ่งทำในเรื่องที่ทำให้ชีวิตของคุณเป็นไปดังที่หวังไว้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีทัศนคติที่ดี

8.จินตนาการว่ามีสิ่งดีๆเกิดขึ้น แปลกแต่จริงที่ว่า คนส่วนมากมักชอบวาดภาพเรื่องเลวร้ายกำลังเกิดขึ้น โดยมักจะพูดว่า “ถ้ามันเกิดขึ้น...” จงฝึกนึกถึงเรื่องดีๆกำลังเกิดขึ้น มองเห็นภาพงานที่กำลังทำเดินไปด้วยดี (ไม่ว่าจะเป็นงานที่บ้านหรือที่ทำงาน) และได้รับคำชมจากคนรอบข้างว่า“เยี่ยมมาก” เพราะนั่นจะเป็นกำลังใจให้คุณคิดบวกต่อไป

9.ความผิดพลาดมีไว้ให้เรียนรู้ มิใช่แส้ที่เอาไว้เฆี่ยนตี ทุกคนล้วนเคยทำผิดทั้งนั้น และถึงแม้ว่าได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็ยังทำพลาด ขอให้จำไว้ว่า ยังมีโอกาสให้เริ่มต้นใหม่ ความผิดพลาดต่างๆที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข สิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต

10.อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ถ้ารอบๆตัวเต็มไปด้วยข้าวของวางระเกะระกะ กระจัดกระจายไปทั่วห้อง ลองหาเวลาจัดเก็บ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมอง ความคิดได้มาก ใครจะมองโลกในแง่ดีได้ ถ้าต้องอยู่ท่ามกลางสภาพสกปรกรกรุงรังตลอดเวลา เพราะสภาพแวดล้อมที่ดี จะช่วยสร้างและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดทัศนคติด้านบวก

11. รับข้อมูลข่าวสารที่ดี หมั่นอ่านบทความที่สร้างแรงจูงใจ หรือฟังธรรมะที่กระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว และเกิดปัญญา ซึ่งจะช่วยให้มองโลกและชีวิตได้อย่างเข้าใจ มีความหวัง และความสุข

12.ให้คำมั่นสัญญากับตัวเอง และบอกตัวเอง ซ้ำๆ เพราะคำมั่นสัญญาดีๆมีผลต่อกระบวนการคิดของตัวเอง เช่น ถ้าคุณมีอาการซึมเศร้าเป็นประจำ คำมั่นสัญญาของคุณก็คือ “ฉันมีความสุข ฉันควบคุมตัวเองได้” บอกตัวเองเช่นนี้หลายๆครั้งในแต่ละวัน แล้วคุณจะรู้สึกถึงพลังความคิดด้านบวกที่เกิดขึ้น.

เรียบเรียงข้อมูลโดย manman

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมายคำว่าFreedom.ในทัศนะต่างๆ.

freedom n.
ความเป็นอิสระ Syn. independence , liberty Related. เสรีภาพ , อิสรภาพ
Thai-English: NECTEC's Lexitron Dictionary
ไทย n. freedom Syn.
ไท Related. independence , liberty , emancipation Def.
ความมีอิสระในตัว, ความไม่เป็นทาส Ant.
ทาส Sample: ชนทุกชาติต้องการเป็น ไทย ทั้งสิ้น ไม่มีใครที่ชอบอยู่ใต้อำนาจผู้อื่น
อิสรภาพ n. freedom Syn. เสรีภาพ , อิสระ Related. independence , liberation Def.
ความเป็นไทแก่ตัว Sample: แม้เขาจะได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษจนได้ อิสรภาพ แต่ก็ต้องถูกเนรเทศออกนอกประเทศ เสรี n. freedom Syn. อิสระเสรี Related. liberty , independence Def. ที่ทำได้โดยปลอดอุปสรรค,
มีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
Sample: คนเราเกิดมามี เสรี และมีอิสระที่จะเลือกหนทางดำเนินชีวิตของตนเอง
เสรีภาพ n. freedom Syn. ความอิสระ Related. liberty Def.
ความมีเสรี Sample: แม้ประชาชนจะมี เสรีภาพ ในการชุมนุมก็ตามแต่จะต้องไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
โมกข์ n. freedom Syn. ความหลุดพ้น ,นิพพาน Related. independence ,
liberty ความเป็นไท n. freedom Syn. ความเป็นเอกราช , ความเป็นอิสระ Related. liberty Ant. ความเป็นทาส
คำศัพท์ พร้อมความหมาย และตัวอย่างประโยค จาก Voice of America
freedom the condition of being free Sample: Many people in history have died for freedom .

รายละเอียดเพิ่มเติม

ในอารยธรรมตะวันตก

นักคิดในยุคแสงสว่าง ได้ให้เหตุผล ว่ากฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่มีอำนาจทั้งในเรื่องมนุษย์ และเรื่องที่เหนือขึ้นไป เช่นเรื่องสรวงสวรรค์ และกฎหมายนั้นเองที่ให้อำนาจกับกษัตริย์ แทนที่จะมองว่าอำนาจของกษัตริย์ทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายได้ มโนทัศน์ที่ว่ากฎหมายนั้นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แทนที่จะเป็นตระกูล เริ่มเด่นชัดขึ้น และด้วยแนวคิดนี้ทำให้เกิดความสนใจในเรื่องของเสรีภาพส่วนบุคคล ว่าควรจะเป็นความจริงมูลฐาน ที่ถูกมอบให้โดย "ธรรมชาติ และ พระเจ้า" ซึ่งในรัฐในอุดมคติ เสรีภาพส่วนบุคคลนี้ ควรจะขยายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า ยุคแสงสว่างได้ให้กำเนิดแนวคิด "เสรีภาพ" กล่าวคือ แนวคิดเกี่ยวกับปัจเจกชนอิสระ จะมีความอิสระมากที่สุดภายในสภาพแวดล้อมของรัฐที่ให้ความมั่นคงทางกฎหมาย ถัดจากนั้นแล้ว แนวคิดทางปรัชญาที่ถอนรากถอนโคนยิ่งขึ้นก็ได้แสดงตัวเด่นชัดขึ้นในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศสและในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับอารยธรรมตะวันตกแล้ว เป็นช่วงของความปั่นป่วนเนื่องจากสงครามและการปฏิวัติ ซึ่งค่อยๆ หล่อหลอมให้เกิดแนวคิดและความเชื่อที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "เสรีภาพของปัจเจกชน" ฐานคิดทางปรัชญาของ "เสรีภาพ" คือแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิความเป็นมนุษย์ และมนุษย์นั้นมีคุณค่ามากกว่าที่จะอยู่ในสภาพของความเป็นทาส รวมไปถึงแนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรจะเป็นผู้กำหนดและควบคุมชะตาชีวิตของตนเอง แนวคิดทางปรัชญาเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากมุมมองทางศาสนา แม้ว่าทั้งชาวคริสต์ ชาวยิว และมุสลิม ล้วนแล้วแต่เคยมีการใช้ทาสมาก่อนทั้งสิ้น

ในอารยธรรมตะวันออก

ขงจื้อได้เตือนเกี่ยวกับการมีบทบาทที่มากเกินไปของรัฐบาล ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับพัฒนาการของแนวความคิดยุคหลังล็อกของเสรีภาพเชิงลบ เขากล่าวว่ารัฐบาลที่ทำงานด้วยการทำเป็นตัวอย่างและ "การไม่ทำ" นั้น ยิ่งใหญ่กว่ารัฐบาลที่ทำงานด้วยกฎหมายและระเบียบวินัย

ในอารยธรรมตะวันออกกลาง

ในประวัติศาสตร์ของศาสนายูดายได้มีการกล่าวถึงปัจเจกชนที่ยืนขึ้นเพื่อต่อต้านกับอำนาจของรัฐในเวลาที่สำคัญ เช่น โมเสสที่เรียกร้องกับฟาโรห์ของอียิปต์ว่า "ให้คนของเราไป" หรือชาวแมคคาบีที่กบฏต่อการยึดครองของชาวกรีก และชาวซีลอตที่ต่อต้านอาณาจักรโรมัน

นักกฎหมายมุสลิมได้ยืนยันมาเป็นเวลานานว่าแนวทางของกฎหมายที่กำหนดในคัมภีร์อัลกุรอานมีหลักการที่เรียกว่า "การอนุญาต" หรือ อิบาฮา (Ibahah) โดยเฉพาะที่ใช้กับธุรกรรมทางการค้า อิบ ทายมิจจาห์ (Ibn Taymiyyah) กล่าวว่า "ไม่มีการห้าม
[การซื้อขายโดยสมัครใจ] นอกเสียจากจะเป็นสิ่งที่ถูกห้ามไว้โดยพระเจ้าและผู้ส่งพระสารของท่าน" แนวคิดนี้ปรากฏในข้อความสองตอนในอัลกุรอาน (ตอนที่ 4:29 และ 5:1)

แนวคิดทางการเมือง

เสรีนิยม คือแนวคิดทางการเมืองที่ ครอบคลุมถึงอุดมการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่กล่าวว่าหน้าที่ของรัฐบาลคือการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคล โดยทั่วไปแล้ว แนวคิดนี้จะกล่าวถึงสิทธิในการจะปลีกตัวออกจากแนวคิดดั่งเดิม หรืออำนาจที่ถูกสถาปนาเอาไว้ ในทางการเมืองและทางศาสนา

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่หลายๆ เรื่องเกี่ยวกับแนวคิดเสรีนิยม ความขัดแย้งที่สำคัญที่เริ่มปรากฏขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20เกี่ยวข้องกับ เสรีภาพในการแสดงออก กับ เสรีภาพในทางธุรกิจ (สิทธิในการซือ ขาย และมีทรัพย์สินไว้ในครอบครอง) กระแสคิดหนึ่งเสนอว่าแม้ว่าเสรีภาพทั้งสองแบบจะเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ แต่ก็มีความแตกต่างกันในระดับของความสำคัญ เช่น เสรีภาพในการศรัทธาของแทมมี เฟย์ แบคเคอร์นั้น ในแนวคิดนี้จะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าสิทธิในการขายเครื่องสำอางค์ของเธอ

นักคิดอีกกลุ่มหนึ่งยืนยันว่าเสรีภาพในการแสดงออกกับเสรีภาพในทางธุรกิจ นั้นแตกต่างกันมาก ถึงขั้นที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และเสรีภาพอย่างหลังต้องถูกลดลงถึงจะทำให้เสรีภาพข้างต้นเพิ่มขึ้นได้ ผู้คนที่เชื่อในมุมมองเช่นนี้ จะไม่จัดให้เสรีภาพที่เขาต่อต้านเป็นเสรีภาพเสียด้วยซ้ำ

แนวคิดกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นที่นิยมในเหล่านักเสรีนิยม เชื่อว่าไม่มีข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างเสรีภาพทั้งสองแบบ กล่าวคือ ทั้งคู่เป็นสิ่งเดียวกัน และจะต้องได้รับการคุ้มครอง (หรือจะถูกกดขี่) ไปพร้อมๆ กัน พวกเขาชี้ว่า ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา มีการกล่าวถึง "ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน" สองครั้ง โดยไม่ได้ระบุถึงข้อแตกต่างใดๆ

นักปัจเจกนิยม เช่น มักซ์ สเตอร์เนอร์ เรียกร้องการเคารพอย่างสูงสุดต่อเสรีภาพของปัจเจกชน ในมุมมองที่คล้ายๆ กัน จอห์น เซอร์ซาน กล่าวว่าอารยธรรมทั้งหมด ไม่ใช่แค่รัฐเท่านั้น ที่จะต้องถูกทำลายลงไป เพื่อให้เสรีภาพงอกงาม ในหนังสือ "ความเรียงเกี่ยวกับศีลธรรมและการเมือง" เดวิด ฮูม ยังได้เขียนถึง "เสรีภาพของพลเมือง"

บางคนมองว่าการปกป้องอุดมคติเกี่ยวกับเสรีภาพว่าเป็นนโยบายแนวอนุรักษ์นิยม ทั้งนี้เนื่องจากการปกป้องนี้จะตรงกับแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล ที่พวกเขามองว่าเป็นรากฐานของแนวคิดอเมริกัน โดยนักคิดแนววิพากษ์บางพวกมองว่าเสรีภาพเป็นแค่เครื่องมือทางอุดมการ

รูปแบบ

* เสรีภาพภายนอก, เสรีภาพทางการเมือง, หรือเสรีภาพส่วนบุคคล คือสภาวะที่ปราศจากการถูกบังคับ, การควบคุม, การห้าม, การข่มขู่, การกดขี่, และอาจรวมถึงความกดดัน ตัวอย่างเสรีภาพภายนอกเช่นการเคารพซึ่งเสรีภาพในทางความคิด เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการนับถือศาสนา, เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพในการปรับแต่งลักษณะหรือสภาพภายนอกของตนเอง
* เสรีภาพภายใน คือสภาวะที่สามารถใช้ความคิดตัดสินใจได้ด้วยตัวเองหรือปกครองตนเอง และความสามารถในการมีเจตจำนงเสรีหรือเสรีภาพในการเลือกสิ่งภายนอกต่าง ๆ โดยไม่เกิดความขัดแย้งกับเจตจำนงที่อยู่ภายใน

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
เรียบเรียงข้อมูลใหม่โดยmanman

รายการบล็อกของฉัน