Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ผลการศึกษาชี้ อาณานิคมมนุษย์ในอวกาศต้องเหมือนบนโลกจึงจะสำเร็จ

ผลการศึกษาชี้ อาณานิคมมนุษย์ในอวกาศต้องเหมือนบนโลกจึงจะสำเร็จ


นักวิจัยชาวอเมริกันให้ข้อชี้แนะในการศึกษาครั้งใหม่ว่า มนุษย์จำเป็นต้องทำให้อวกาศมีสภาวะที่เหมือนโลกให้มากที่สุด เพื่อให้คนเราสามารถอยู่รอดในอวกาศได้เป็นเวลานาน ๆ

การศึกษานี้เกิดขึ้นในขณะที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า เตรียมส่งนักบินอวกาศกลับสู่ดวงจันทร์ด้วยโครงการ อาร์ทิมิส (Artemis) โดยนาซ่าเพิ่งประกาศรายชื่อนักบินอวกาศชุดใหม่ที่จะเข้าร่วมในภารกิจทดสอบการบินรอบดวงจันทร์ และมีแผนในอนาคตที่จะส่งนักบินอวกาศไปยังดาวอังคารอีกด้วย

การศึกษาดังกล่าว ซึ่งจัดทำขึ้นโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell) ในรัฐนิวยอร์ก และสถาบันนอร์ฟอล์ค (Norfolk) ในรัฐเวอร์จิเนีย ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Astronomy and Space Sciences เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีเนื้อหาที่อธิบายถึงสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในระยะยาวในอวกาศหรือบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ


การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นต่าง ๆ เช่น วิธีรับมือกับแรงโน้มถ่วงและออกซิเจนในอวกาศ การเก็บกักน้ำ การพัฒนาการเกษตร และการกำจัดของเสียในอวกาศ

มอร์แกน ไอร์ออนส์ (Morgan Irons) หนึ่งในนักวิจัย ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล ได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ เพื่อสำรวจความจำเป็นทางกายภาพที่มีความสำคัญสำหรับมนุษย์ในระหว่างการเดินทางในอวกาศในอนาคต

เธอกล่าวในแถลงการณ์ว่า สิ่งมีชีวิตในอวกาศก็จำเป็นต้องมี "ระบบนิเวศตามธรรมชาติ" เพื่อเกื้อหนุนมนุษย์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพราะ “หากไม่มีการจัดตั้งระบบเหล่านี้ ภารกิจก็จะล้มเหลว”

ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยอีกคนคือ ลี ไอร์ออนส์ (Lee Irons) ซึ่งเป็นคุณพ่อของมอร์แกนและเป็นหัวหน้าสถาบันนอร์ฟอล์ค ที่พยายามหาหนทาง "การทำงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัว" ของมนุษย์ทั้งบนโลกและในอวกาศ

เขากล่าวว่า หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับมนุษย์ในอวกาศ คือ ปัญหาเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง เพราะมนุษย์จะประสบภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำในอวกาศ ขณะที่ การลดลงของแรงโน้มถ่วงสามารถเปลี่ยนระดับความดันของของเหลวในตัวสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในอวกาศเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาของการมองเห็น เพราะร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถรักษาระดับความดันของของเหลวให้เท่ากับที่ร่างกายเคยชินบนโลก

กลุ่มนักวิจัยในการศึกษานี้กล่าวว่า ในช่วงแรก พวกเขาต้องศึกษาความจำเป็นทางกายภาพในระยะยาวของมนุษย์ ทั้งบนโลกและในอวกาศ โดยมีการเสนอให้ผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนภารกิจในอวกาศคิดหาวิธี "สร้างเครือข่ายระบบนิเวศเชิงวิวัฒนาการ” ที่ทำให้โลกกลายมาเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ดังเช่นในปัจจุบัน


จีนเตรียมสร้างสถานีดาวเทียมที่ขั้วโลกใต้ สานฝันมหาอำนาจในอวกาศ
มอร์แกน ไอร์ออนส์ กล่าวว่า ถึงแม้จะมีการลงทุนเป็นเงินจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาอาณานิคมในอวกาศ โครงการดังกล่าวอาจเป็นการสูญเปล่า เพราะโอกาสของความสำเร็จนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีแรงโน้มถ่วงมาเกี่ยวข้องเสมอ

นอกจากนี้แล้ว นักวิจัยกล่าวว่า ออกซิเจนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ และว่า หน่วยงานด้านอวกาศจำเป็นต้องสร้างระบบออกซิเจนหลักและสำรองโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อรองรับการที่มนุษย์ใช้ชีวิตในอวกาศเป็นเวลายาวนานด้วย

ในเรื่องนี้ มีข้อเสนอแนะประการหนึ่งจากการศึกษา ซึ่งก็คือ การส่งสิ่งมีชีวิตเพื่อผลิตออกซิเจนไปร่วมตั้งอาณานิคมในอวกาศ โดย ลี ไอร์ออนส์ อธิบายว่า วิธีดังกล่าวอาจเป็นการใช้พืชพันธุ์นับแสนชนิดที่สามารถสร้างออกซิเจนได้มาช่วยสนับสนุนภารกิจระยะยาวทั้งในอวกาศและบนดาวเคราะห์อื่น ๆ

การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ พลังงานจำนวนมหาศาลจากดวงอาทิตย์ เพราะในความเป็นจริงนั้น เมื่อนักบินอวกาศเดินทางไกลออกไปจากดวงอาทิตย์ พวกเขาจะรวบรวมพลังงานแสงอาทิตย์ได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

ลี ไอร์ออนส์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การจัดตั้งอาณานิคมที่มีระบบนิเวศเอื้อต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ในอวกาศต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก “มิฉะนั้นแล้ว การจ่ายพลังงานให้กับระบบนิเวศของชุมชนอันห่างไกล (outpost) ในอวกาศ ก็จะมีสภาพเหมือนกับการใช้แบตเตอรีโทรศัพท์มือถือขับเคลื่อนรถยนต์นั่นเอง”

นาซ่าจำลอง 'บ้านบนดาวอังคาร' สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน (อยู่ได้ 4 คน)


นาซ่าจำลอง 'บ้านบนดาวอังคาร' สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน 
(อยู่ได้ 4 คน)

เมื่อไม่นานมานี้ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า ได้เปิดแสดงสภาพแวดล้อมจำลองของดาวอังคาร ที่อาสาสมัคร 4 คนจะใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 1 ปี เพื่อช่วยในการเตรียมส่งมนุษย์ไปยังดาวดวงนี้

อาสาสมัครที่ไม่ใช่นักบินอวกาศจะเข้าสู่ที่พักที่จำลองสถาพแวดล้อมบนดาวอังคาร ซึ่งถูกสร้างขึ้นที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซ่าในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ในเดือนมิถุนายนนี้

นาซ่าเผยว่า ในระหว่างการเข้าพัก อาสาสมัครจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งรวมถึงการสำรวจอวกาศจำลอง การทำงานกับหุ่นยนต์ การดูแลที่พัก การออกกำลังกาย และการปลูกพืช เป็นต้น


ที่พักอาศัยขนาด 160 ตารางเมตรนี้ได้รับการออกแบบมาโดยจำลองสภาพแวดล้อมต่าง ๆ สำหรับผู้ไปเยือนดาวอังคารในอนาคตที่อาจต้องเผชิญ อย่างเช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยทรัพยากรที่จำกัด มีการแยกตัวออกจากกัน และประสบกับภาวะที่อุปกรณ์ขัดข้อง

ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมจำลองถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติถูกนำมาใช้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อสร้างโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ๆ รวมถึงบ้านทั้งหลังด้วย

ที่อยู่อาศัยบนดาวอังคารนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการของนาซ่า ที่รู้จักกันในชื่อ Crew Health and Performance Exploration Analog (CHAPEA) ซึ่งคาดว่าจะมีการรวมสภาพแวดล้อมจำลองทั้งหมดสามแบบด้วยกัน

เกรซ ดักลาส (Grace Douglas) หัวหน้านักวิจัยของการทดลองของ CHAPEA บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีของฝรั่งเศสว่า นาซ่ามองว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติเป็นวิธีที่เป็นไปได้ “ในการสร้างที่อยู่อาศัยบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ หรือบนพื้นผิวดวงจันทร์”

ในตอนนี้ เจ้าหน้าที่ของนาซ่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจสู่ดาวอังคาร แต่ความพยายามส่วนใหญ่ในปัจจุบันของหน่วยงาน คือการสนับสนุนภารกิจอาร์ทิมิสที่กำลังจะมีขึ้น ซึ่งตั้งเป้าที่จะส่งมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในรอบครึ่งศตวรรษ

ในขณะที่อาสาสมัครพักอยู่ในสถานจำลองดาวอังคาร เจ้าหน้าที่ของนาซ่าจะติดตามสุขภาพร่างกายและจิตใจของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง

ดักลาสกล่าวว่า ด้วยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้นาซ่ามีความพร้อมมากขึ้นในการศึกษาว่านักบินอวกาศสามารถเรียนรู้การใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ได้อย่างไร ซึ่งนั่นจะเป็นข้อมูลที่สำคัญมากในการตัดสินใจเรื่องทรัพยากรที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตบนดาวอังคาร


ทั้งนี้ ที่อยู่อาศัยดังกล่าวจะมีพื้นที่ "กลางแจ้ง" ที่จำลองพื้นผิวและสภาพแวดล้อมของดาวอังคาร โดยพื้นที่นี้จะยังคงอยู่ในสภาพแวดล้อมจำลอง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการระบุชื่ออาสาสมัครที่จะเข้าร่วมในการทดลองครั้งแรกนี้ นาซ่ากล่าวว่ากระบวนการคัดเลือกบุคคลจะเป็นไปตามแนวทางเดียวกับที่ใช้ในการเลือกนักบินอวกาศ โดยสมาชิกในทีมจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และจะต้องเป็นพลเมืองอเมริกันหรือผู้อยู่อาศัยถาวรในสหรัฐฯ เท่านั้น


สำหรับบุคคลที่สนใจต้องมีอายุระหว่าง 30 ถึง 55 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี และไม่มีปัญหาเรื่องอาหารหรืออาการป่วยจากการเคลื่อนไหว อย่างเช่น เมารถ

คริส ฮัดฟิล (Chris Hadfield) อดีตนักบินอวกาศชาวแคนาดา กล่าวกับเอพีในปี 2021 ว่า เขาคิดว่าข้อกำหนดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านาซ่ากำลังมองหาผู้ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับการเป็นนักบินอวกาศ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้การทดลองมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และว่าความพยายามของรัสเซียในอดีตในการสร้างสภาพแวดล้อมจำลองบนดาวอังคารที่ใช้ชื่อว่า Mars 500 ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก ซึ่งเป็นเพราะเหล่าอาสาสมัครมีลักษณะเหมือนคนทั่วไปมากเกินไป

เขากล่าวติดตลกส่งท้ายว่า อาสาสมัครที่เขาร่วมการทดลองนี้จะมีเวลามากมายที่ดูภาพยนตร์จาก Netflix

วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สุดยอด! หญิงสาวผู้เป็นโรคสังข์ทอง กับการก้าวขึ้นมาเป็นนางแบบระดับโลก


สุดยอด! หญิงสาวผู้เป็นโรคสังข์ทอง กับการก้าวขึ้นมาเป็นนางแบบระดับโลก

นี้ละที่เขาเรียกว่าความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น

สุดยอด! หญิงสาวผู้เป็นโรคสังข์ทอง กับการก้าวขึ้นมาเป็นนางแบบระดับโลก

บางคนร่างกายครบสมบูรณ์แต่ยังสู้เธอคนนี้ไม่ได้ เยี่ยมมากๆครับ
 เมไลนี เกย์ดอส เธอมีความมั่นใจและมุ่งมั่นใจเกินร้อย


โรคสังข์ทอง หรือ Ectodermal Dysplasia ถูกตั้งชื่อตามรักร้องลูกทุ่งชื่อดัง สังข์ทอง สีใส จนทำให้คนอื่นๆ รู้จักโรคนี้ และถูกตั้งชื่อว่าโรคสังข์ทองตามชื่อของเขา ส่วนคนมีชื่อเสียงอื่นๆ ที่พวกเรารู้จักกันดีก็คือ สุเทพ สีใส และ เอ็ดดี้ ผีน่ารัก 2 ตลกชื่อดัง

 ส่วนอาการของโรคที่เห็นได้จากภายนอกก็คือ ใบหน้าจะมีลักษณะแตกต่างจากคนปกติ คือมีหน้าผากเหลี่ยมและโหนก ไม่มีดั้ง คางจะเชิดออกมา และผมจะบางมากถึงไม่มีผมเลย จมูกรั้นจมูกบี้

ในต่างประเทศเองก็มีคนที่มีชื่อเสียงและเป็นโรคนี้อยู่เช่นกัน อย่างเช่น เมไลนี เกย์ดอส นางแบบและนักแสดงชาวอเมริกัน วัย 27 ปี เธอเป็นชาวคอนเน็คติคัทโดยกำเนิด


ด้วยโรคนี้ ทำให้ใบหน้าของเธอดูแตกต่าง แต่มันไม่ได้ทำลายความฝันที่เธออยากมีอาชีพนางแบบให้ลดลงไป

เมลานีเผยว่า เธอมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการจัดการกับความเห็นในแง่ลบที่มีต่อตัวเธอ เมื่อเธอเริ่มเป็นนางแบบแรกๆ


ด้วยโรคของเธอ ทำให้เธอไม่มีผมและขนตา จนกระทั่งเธออายุ 26 เธอเริ่มใส่ฟันปลอม แต่ 8 เดือนหลังจากนั้น เธอตัดสินใจถอดมันออก เพราะมันไม่ใช่ไอเดียที่ดีนัก


“คนส่วนมากบอกว่ารู้สึกดีที่เห็นฉันมีฟันในปาก” เธอกล่าว “แต่ฉันไม่”


เมไลนี ประสบความสำเร็จในอาชีพนางแบบอย่างสูง เธอมีแฟนๆ ติดตามมากมาย รวมไปถึง ไมลี่ ไซรัส นักร้องชื่อดังระดับโลกอีกด้วย

หวังว่าเรื่องราวชีวิตของเธอ จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน ได้สู้ไปตามความฝันที่ตัวเองต้องการ

ก่อนจบบทความนี้อยากให้คนที่กำลังท้อแท้ดูเรื่องราวของเมไลนี เกย์ดอส เป็นตัวอย่าง มีกำลังใจที่เอาชนะปัญหาได้แน่

รายการบล็อกของฉัน